วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธพจน์ หมวด ๑๑ - ๑๕

  • ๑๙๗.ในหมู่มนุษย์ ผู้จองเวรกัน
    พวกเราไม่จองเวรใคร
    ช่างอยู่สบายจริงหนอ
    ในหมู่มนุษย์ผู้เต็มไปด้วยเวร
    พวกเราอยู่อย่างปราศจากเวร


    ๑๙๘. ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
    พวกเราหมดกิเลสแล้ว
    ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
    ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
    พวกเราอยู่ปราศจากกิเลส






    ๑๙๙. ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
    พวกเราไม่กระวนกระวาย
    ช่างอยู่เป็นสุขสบายจริงหนอ
    ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
    พวกเราอยู่ปราศจากความกระวนกระวาย

    ๒๐๐. พวกเราไม่มีกิเลสเศร้าหมองใจ
    ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
    พวกเรามีปีติเป็นภักษาหาร
    เปรียบปานเหล่าอาภัสรพรหม

    ๒๐๑. ผู้ชนะย่อมก่อเวร
    ผู้พ่ายย่อมอยู่เป็นทุกข์
    ผู้ละความชนะและความพ่ายเสีย
    มีใจสงบระงับนั่นแหละเป็นสุข

    ๒๐๒. ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ
    ไม่มีโทษใดเสมอด้วยโทสะ
    ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์
    ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ


    ๒๐๓ .ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
    สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
    รู้ความจริงข้อนี้แล้ว
    (คนฉลาด จึงทำพระนิพพานให้แจ้ง)
    พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

    ๒๐๔. ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
    ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
    ความไว้วางใจกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง
    พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

    ๒๐๕. เมื่อได้ลิ้มรสแห่งวิเวก
    และรสพระนิพพานอันสงบ
    ได้ดื่มรสแห่งความอิ่มเอมในพระธรรม
    บุคคลย่อมจะหมดบาป หมดทุกข์ร้อน


    ๒๐๖. การพบพระอริยเจ้าเป็นความดี
    การอยู่ร่วมกับท่านให้เกิดสุขทุกเมื่อ
    เมื่อไม่คบคนพาลเสียได้
    คนเราพึงมีความสุขเป็นนิจนิรันดร์

    ๒๐๗. เพราะผู้คบคนพาล ย่อมเศร้าโศกนาน
    การอยู่ร่วมกับคนพาลมีแต่ความทุกข์
    เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
    การอยู่ร่วมกับนักปราชญ์มีแต่ความสุข
    เหมือนสมาคมของญาติ


    ๒๐๘. เพราะฉะนั้นจึงควรประพฤติตามผู้เป็นปราชญ์
    ผู้เฉียบแหลม ศึกษาเล่าเรียนมาก มีศีลาจารวัตร
    เรียบร้อย เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี
    เหมือนพระจันทร์ไปตามทางของกลุ่มนักขัตฤกษ์
  • ๑๗๙. พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
    ทรงชนะกิเลสได้เด็ดขาด
    กิเลสที่ทรงชนะแล้วไม่ติดตามพระองค์ไปอีก
    พระพุทธเจ้าองค์นั้น
    ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณหาที่สุดมิได้

    ไม่ไปตามทางของกิเลสแล้ว
    พวกเธอจะนำท่านไปตามทางไหนเล่า

    ๑๘๐. พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
    ไม่มีตัณหาดังตาข่าย อันมีพิษสงร้ายกาจ
    พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณหาที่สุดมิได้
    ไม่ไปตามทางของกิเลสแล้ว
    พวกเธอจะนำท่านไปตามทางไหนเล่า


    ๑๘๑. เหล่าเทวดาย่อมรักธีรชน
    ผู้ขวนขวายในกรรมฐาน
    ยินดีในนิพพานอันสงบ
    มีสติและรู้แจ้งจบสัจธรรม

    ๑๘๒. ยาก ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
    ยาก ที่ชีวิตสัตว์อยู่สบาย
    ยาก ที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
    ยาก ที่พระสัมพุทธะจะอุบัติมา

    ๑๘๓. ไม่ทำความชั่วทุกชนิด
    ทำแต่ความดี
    ทำใจให้ผ่องใส
    นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ๑๘๔. ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยอด
    นิพพาน ท่านผู้รู้กล่าวว่าเป็นยอด
    ผู้ที่ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นบรรพชิต
    ผู้ที่ยังเบียดเบียนคนอื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นสมณะ


    ๑๘๕. ไม่ว่าร้ายใคร
    ไม่กระทบกระทั่งใคร
    ระมัดระวังในปาติโมกข์
    บริโภคพอประมาณ
    อยู่ในสถานสงัด
    ฝึกหัดจิตให้สงบ
    นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ๑๘๖. ถึงแม้เงินตราจะไหลมาดังห่าฝน
    ความอยากของคนก็หาอิ่มไม่
    กามวิสัยทั้งหลายมีความสุขจริงๆ น้อย
    เต็มไปด้วยความทุกข์สารพัด
    (ความต่อยังคาถาถัดไป)


    ๑๘๗. รู้ชัดดังนี้แล้ว สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ย่อมไม่ยินดีในกามารมณ์แม้ที่เป็นทิพย์
    หากแต่ยินดีในทางสิ้นกิเลสตัณหา

    ๑๘๘. คนเป็นจำนวนมาก เมื่อภัยมาถึงตัว
    พากันยึดเอาสิ่งต่างๆเป็นที่พึ่ง
    อาทิ ภูเขา ป่าไม้ สวน
    ต้นไม้ และเจดีย์

    ๑๘๙. นั่นมิใช่ที่พึ่งอันปลอดภัย
    นั่นมิใช่ที่พึ่งอันสูงสุด
    อาศัยที่พึ่งชนิดนั้น
    ก็ไม่พ้นทุกข์ทั้งปวงได้


    ๑๙๑. ผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
    ย่อมเห็นอริยสัจด้วยปัญญาอันชอบ คือ
    ทุกข์, เหตุของทุกข์, ความดับทุกข์ และ
    อริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางดับทุกข์

    ๑๙๒. นั่นแลคือที่พึ่งอันปลอดภัย
    นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด
    คนเราอาศัยที่พึ่งชนิดนั้น
    ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

    ๑๙๓. บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก
    เขาย่อมไม่เกิดในตระกูลทั่วไป
    คนฉลาดเช่นนี้ เกิดในตระกูลใด
    ตระกูลนั้นย่อมเจริญรุ่งเรืองด้วยความสุข

    ๑๙๔. การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้เกิดสุข
    การแสดงพระสัทธรรมให้เกิดสุข
    ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข
    ความพยายามของหมู่ที่พร้อมเพรียงกันให้เกิดสุข

    ๑๙๕-๑๙๖. ผู้บูชาท่านที่ควรบูชา
    คือพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า
    ผู้ล่วงพ้นกิเลสเครื่องขวางกั้น
    หมดโศกหมดปริเทวนา สงบระงับ
    ปลอดภัยโดยประการทั้งปวง
    ใครๆ ไม่สามารถจะคำนวณบุญของบุคคลผู้นี้ว่า
    "เขาได้บุญประมาณเท่านี้"
  • ๑๖๗. อย่าประพฤติสิ่งเลวทราม

    อย่าอยู่ด้วยความประมาท

    อย่ายึดถือความเห็นผิด


    อย่าทำตนเป็นคนรกโลก





    ๑๖๘. ลุกขึ้นเถิด อย่ามัวประมาทอยู่เลย

    จงประพฤติสุจริตธรรม

    เพราะผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข

    ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า



    ๑๖๙. จงประพฤติสุจริตธรรม

    อย่าประพฤติทุจริต

    ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข

    ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า



    ๑๗๐. ผู้ที่มองเห็นโลก

    ว่าไม่จีรังและหาสาระอะไรมิได้

    เช่นเดียวกับคนมองฟองน้ำและพยับแดด

    คนเช่นนี้พญามารย่อมตามหาไม่พบ



    ๑๗๑. สูเจ้าทั้งหลาย จงมาเถิดมาดูโลกนี้

    อันวิจิตรพิสดาร เหมือนกับราชรถทรง

    ณ ที่นี่แหละ เหล่าคนโง่พากันหมกมุ่นอยู่

    แต่ผู้รู้หาติดข้องอยู่ไม่





    ๑๗๒. ผู้ที่เคยประมาทในกาลก่อน

    แต่ภายหลังไม่ประมาท

    เขาย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง

    เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ





    ๑๗๓.ผู้ใดทำบาปไว้แล้ว

    ละได้ด้วยการทำดี

    ผู้นั้นย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง

    เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ



    ๑๗๔. โลกนี้ มืดมน น้อยคนจักเห็นแจ้ง

    น้อยคน จะไปสวรรค์

    เหมือนนกติดข่ายนายพราน

    น้อยตัวจะหลุดรอดไปได้





    ๑๗๕. พระยาหงส์ เหินฟ้าไปหาพระอาทิตย์

    ผู้มีฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศ

    นักปราชญ์ ออกไปจากโลก

    เพราะเอาชนะพญามารพร้อมทั้งกองทัพ



    ๑๗๖. คนที่ล่วงศีลข้อที่สี่

    มักพูดเท็จ ไม่คำนึงถึงปรโลก

    จะไม่ทำความชั่ว ไม่มี





    ๑๗๗. แน่นอน คนตระหนี่ไม่มีโอกาสไปเทวโลก

    แน่นอน คนโง่ ไม่สรรเสริญการให้

    แต่คนฉลาด ยินดีให้ทาน

    นี่แลที่บันดาลให้เขาได้รับสุขในปรภพ





    ๑๗๘. ยิ่งกว่า เอกราชย์ทั่วทั้งแผ่นดิน

    ยิ่งกว่า ขึ้นสวรรคาลัย

    ยิ่งกว่า อธิปไตยใดในโลกทั้งปวง

    คือ พระโสดาปัตติผล
  • ๑๕๗. ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก
    พึงรักษาตนไว้ให้ดี
    บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้
    ไม่ทั้งสามวัยใดวัยหนึ่ง



    ๑๕๘. ควรปฏิบัติตนให้ดีก่อน
    แล้วค่อยสอนคนอื่น
    บัณฑิตเมื่อทำได้อย่างนี้
    จึงจะไม่สร้างมลทินแก่ตน


    ๑๕๙. สอนคนอื่นอย่างใด
    ควรทำตนอย่างนั้น
    ฝึกตนเองแล้วค่อยฝึกคนอื่น
    เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่งนัก


    ๑๖๐.  เราต้องพึ่งตัวเราเอง
    คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
    บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
    ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

    ๑๖๑. บาปที่ตนทำเอง เกิดในตนเอง
    และตนเองเป็นผู้สร้างไว้
    ย่อมทำลายคนโง่ให้ย่อยยับ
    เหมือนเพชร ทำลายแก้วมณี

    ๑๖๒. คนทุศีล ก็เหมือนกับต้นไม้
    ที่เถาวัลย์ขึ้นจนรก
    เขาทำตัวให้วอดวายเอง
    มิจำต้องรอให้ศัตรูมาคอยกระทำให้


    ๑๖๓. กรรมไม่ดี ทั้งไม่มีประโยชน์แก่ตน ทำง่าย
    แต่กรรมดีและมีประโยชน์ ทำได้ยากยิ่ง

    ๑๖๔. คนทรามปัญญา มีความเห็นผิด ติเตียนคำสอน
    ของเหล่าพระอริยะผู้อรหันต์ ผู้มีชีวิตอยู่โดยธรรม
    เขาย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตัวเขาเอง
    เหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น


    ๑๖๕. ตนทำบาปเอง ตนก็เศร้าหมองเอง
    ตนไม่ทำบาปตนก็บริสุทธิ์เอง
    ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
    คนอื่นจะให้คนอื่นบริสุทธิ์แทนไม่ได้


    ๑๖๖. ถึงจะทำประโยชน์แก่คนอื่นมากมาย
    ก็ไม่ควรละทิ้งจุดหมายปลายทางของตน
    เมื่อรู้ว่าอะไรคือจุดหมายปลายทางของตนแล้ว
    ก็ควรใฝ่ใจขวนขวาย

    ๑๓. หมวดโลก
    THE WORLD

    ๑๖๗. อย่าประพฤติสิ่งเลวทราม
    อย่าอยู่ด้วยความประมาท
    อย่ายึดถือความเห็นผิด
    อย่าทำตนเป็นคนรกโลก


    ๑๖๘. ลุกขึ้นเถิด อย่ามัวประมาทอยู่เลย
    จงประพฤติสุจริตธรรม
    เพราะผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
    ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

    ๑๖๙. จงประพฤติสุจริตธรรม
    อย่าประพฤติทุจริต
    ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
    ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

    ๑๗๐. ผู้ที่มองเห็นโลก
    ว่าไม่จีรังและหาสาระอะไรมิได้
    เช่นเดียวกับคนมองฟองน้ำและพยับแดด
    คนเช่นนี้พญามารย่อมตามหาไม่พบ

    ๑๗๑. สูเจ้าทั้งหลาย จงมาเถิดมาดูโลกนี้
    อันวิจิตรพิสดาร เหมือนกับราชรถทรง
    ณ ที่นี่แหละ เหล่าคนโง่พากันหมกมุ่นอยู่
    แต่ผู้รู้หาติดข้องอยู่ไม่
        ( พระพุทธพจน์ )

    ๑๗๒. ผู้ที่เคยประมาทในกาลก่อน
    แต่ภายหลังไม่ประมาท
    เขาย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
    เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ


    ๑๗๓.ผู้ใดทำบาปไว้แล้ว
    ละได้ด้วยการทำดี
    ผู้นั้นย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
    เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ

    ๑๗๔. โลกนี้ มืดมน น้อยคนจักเห็นแจ้ง
    น้อยคน จะไปสวรรค์
    เหมือนนกติดข่ายนายพราน
    น้อยตัวจะหลุดรอดไปได้


    ๑๗๕. พระยาหงส์ เหินฟ้าไปหาพระอาทิตย์
    ผู้มีฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศ
    นักปราชญ์ ออกไปจากโลก
    เพราะเอาชนะพญามารพร้อมทั้งกองทัพ

    ๑๗๖. คนที่ล่วงศีลข้อที่สี่
    มักพูดเท็จ ไม่คำนึงถึงปรโลก
    จะไม่ทำความชั่ว ไม่มี


    ๑๗๗. แน่นอน คนตระหนี่ไม่มีโอกาสไปเทวโลก
    แน่นอน คนโง่ ไม่สรรเสริญการให้
    แต่คนฉลาด ยินดีให้ทาน
    นี่แลที่บันดาลให้เขาได้รับสุขในปรภพ


    ๑๗๘. ยิ่งกว่า เอกราชย์ทั่วทั้งแผ่นดิน
    ยิ่งกว่า ขึ้นสวรรคาลัย
    ยิ่งกว่า อธิปไตยใดในโลกทั้งปวง
    คือ พระโสดาปัตติผล
  • ๑๔๖. จะมัวร่าเริง สนุกสนานกันทำไม
    ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์
    พวกเธอถูกความมืดมิดปิดบังตา
    ไยไม่แสวงหาแสงสว่างกันเล่า



    ๑๔๗. จงดูร่างกายที่ว่าสวยงามนี้เถิด
    เต็มไปด้วยแผล สร้างขึ้นด้วยกระดูก
    มากด้วยโรค มากด้วยความครุ่นคิดปรารถนา
    หาความยั่งยืนถาวรมิได้

    ๑๔๘. ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นที่อาศัยของโรค
    แตกทำลายง่าย ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้
    จักแตกสลายพังภินท์
    เพราะชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย

    ๑๔๙. กระดูกเหล่านี้ มีสีขาวเหมือนสีนกพิราบ
    ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
    ดุจน้ำเต้าในฤดูสารท
    ดูแล้วไม่น่าปรารถนายินดี


    ๑๕๐. ร่างกายนี้เป็น "อัฐินคร" (เมืองกระดูก)
    ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต
    เป็นที่สถิตแห่ง ชรา มรณะ
    ความเย่อหยิ่ง และความดูถูกบุญคุณกัน


    ๑๕๑. ราชรถ อันวิจิตรงดงาม ยังเก่าได้
    แม้ร่างกายของเรา ก็ไม่พ้นชราภาพ
    แต่ธรรมของสัตบุรุษหาแก่ไม่
    สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมกล่าวสอนกันเช่นนี้แล

    ๑๕๒. คนโง่แก่เปล่า
    เหมือนโคถึก
    มากแต่เนื้อหนังมังสา
    แต่ปัญญาหาเพิ่มขึ้นไม่


    ๑๕๓. เมื่อไม่พบนายช่างผู้สร้างเรือน
    เราได้เวียนว่ายตายเกิด
    ในสงสารนับชาติไม่ถ้วน
    การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์

    ๑๕๔. นายช่างเอย บัดนี้เราพบท่านแล้ว
    ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก
    จันทัน อกไก่ เราทำลายหมดแล้ว
    จิตของเราบรรลุนิพพาน
    หมดความทะยานอยากแล้ว

    ๑๕๕. เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว
    ไม่ทำตัวให้ดีและไม่หาทรัพย์ไว้
    พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนั่งซบเซา
    เหมือนนกกะเรียนแก่
    จับเจ่าอยู่ริมสระที่ไร้ปลา


    ๑๕๖. เมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว
    ไม่ทำตัวให้ดี และไม่หาทรัพย์ไว้
    พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนอนทุกข์
    ทอดถอนใจรำพึงถึงความหลัง
    เหมือนธนูหัก (ใช้ยิงอะไรก็ไม่ได้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น