วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทำไมต้องล้างพิษตับ โดย อ.ขวัญดิน สิงห์คำ

ขอบคุณคลิปจากรายการ ที่นี่ศีรษะอโศก 
จาก โทรทัศน์เพื่อมนุษยชาติ FMTV

หลากหลายความรู้เรื่องสุขภาพ และค่ายล้างพิษตับ << คลิกไปอ่าน new !

ไปพบข้อมูลน่าสนใจเรื่องสมุนไพรฟื้นฟูตับอ่อน ในเฟสบุ๊ค เลยเอามาฝากเผื่อใครอ่านแล้วได้รับประโยชน์ค่ะ..

สมุนไพรฟื้นฟูตับอ่อน

“มะตูมแห้ง รากเตยหอม” ฟื้นฟูตับอ่อน
ตับอ่อน ไม่ดีหรือเสียเป็นสาเหตุหนึ
่ง ทำให้คนเป็นโรคเบาหวาน เพราะตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลีน ขับถ่ายของเสียได้ ดังนั้น การฟื้นฟูตับอ่อนให้กลับสู่ปกติ จึงจะทำให้โรคเบาหวานลดลงหรือดีขึ้นได้ ปัจจุบัน มีวิธีฟื้นฟูตับอ่อนหลายรูปแบบ เช่น กินอาหารเสริม ได้ผลดี แต่ราคาก็สูงอยู่ หรือ แม้กระทั่งคล้องเหรียญควบคุมระบบในร่างกาย ในทางสมุนไพรมีวิธีง่าย ๆ

คือเอามะตูมแห้ง 30 กรัม กับรากเตยหอม 30 กรัม ต้มกับน้ำตามต้องการจนเดือดดื่มขณะอุ่น เช้า กลางวัน เย็น ครั้งละครึ่งแก้ ต้มกินประจำจะทำให้ตับอ่อนค่อย ๆ ดีขึ้น ทำให้โรคเบาหวานลดลงได้
มะตูมหรือ BAEL FRUITTREE BENGAL QUINSE AEGLE MARMELOS (L) CORR. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE ตำรายาไทยระบุว่า ผลดิบแห้งชงน้ำชาดื่มแก้ท้องเสีย แก้บิด ผลสุกเป็นยาระบายช่วยย่อยอาหาร ใบสดคั้นน้ำกินแก้หลอดลมอักเสบ เปลือก รากและต้นรักษาไข้มาลาเรีย
เตยหอม หรือ PANDANUSODORUS อยู่ในวงศ์ PANDANACEAE สรรพคุณโบราณ เตยหอมมีรสเย็นหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ซึ่งในการทำข้าวกระยาคู ที่ใช้ข้าวน้ำนมกับนมสด ต้องใส่ใบเตยหอมด้วย จะช่วยให้คนไข้รับประทานแล้วเกิดกำลัง ทำให้จิตใจผ่องใส ต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กษัยน้ำเบาพิการได้ดีมาก

++++++++++++++
ตับอ่อน ช่วงแรกเรียกว่า ท่อแพนครีเอติค ( pancreatic duct) ช่วงหลังเรียกว่าท่อจากตับอ่อน ( hepato pancreaticduct) หน้าที่ของตับอ่อนสรุปได้ดังนี้

มีต่อมสร้างน้ำย่อยหลายชนิดส่งให้ลำไส้เล็กทำหน้าที่ย่อย แป้ง โปรตีนและไขมัน
มีต่อมไร้ท่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
สร้างสารที่เป็นด่างกระตุ้นให้น้ำย่อยในลำไส้เล็กทำงานได้ดี โดยเฉพาะเอนไซม์


เบาหวาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบาหวาน(Diabetes mellitus)

เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย


ชนิดและสาเหตุ
เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
อาการ
-ถ้าหากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์
-ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น
-ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น (ระหว่างช่วงเวลาที่เข้านอนแล้วจนถึงเวลาตื่นนอน)
-หิวน้ำบ่อยและดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ
-เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
-น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน
-ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร
-สายตาพร่ามองเห็นไม่ชัดเจน
-เป็นแผลหายช้า
โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย

อาการแทรกซ้อน
-ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)
เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง
-ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)
พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ
-ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)
หากหลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด
-โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease)
-โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
-โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
-แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)


ขอบคุณที่มาของความรู้เรื่อง ตับอ่อน.. http://www.facebook.com/photo.php?fbid=534635476562438&set=a.500752493284070.136935.100000479716751&type=1&theater



1 ความคิดเห็น:

  1. ดูแล้วมีประโยชน์มาก แต่มีผลข้างเคียง อยากรู้เรื่องไข่หม้กน้ำส้มสายชูบ้าง

    ตอบลบ